RSS

เตาไฟฟ้า


เตาแม่เหล็ก




เตาแม่เหล็กคืออะไร

เตาแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า เตาแม่เหล็กไฟฟ้าควบคุมด้วยไมโครชิพ ทำให้สามารถทำงานที่อุณหภูมิต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ดูทันสมัย สวยงาม และเพิ่มความสะดวกสบายอย่างมากในการทำอาหารต่างๆเหมาะสำหรับทำอาหารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะสุกี้ และยังสามารถใช้ในงานอื่นๆได้ เช่น ผัด ทอด ต้มซุป

เตาแม่เหล็กไฟฟ้ามีระบบตัดไฟกรณีไฟเกิน(Over current protection)และกรณีมีความร้อนมากเกินไป(Over-heat protection)เพื่อความปลอดภัย

หลักการทำงาน

เตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า หรือเตาแม่เหล็กไฟฟ้า อาศัยความร้อนจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ที่ภาชนะที่เหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ เช่นเหล็ก หรือเหล็กสเตนเลสบางชนิด อุปกรณ์ ที่ไม่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก จะไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนได้ เช่น อลูมิเนียม แก้ว เซรามิค หรือเหล็กสเตนเลสหลายชนิด

เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ให้พลังงานความร้อนได้รวดเร็วกว่าเตาแบบธรรมดา และสูญเสียพลังงานน้อยกว่า เช่นไม่มีความร้อนที่แผ่ไปในอากาศ เหมือนเตาความร้อนทั่วๆไป แต่พลังงานนั้นจะถ่ายทอดไปที่ตัวภาชนะโดยตรง ที่สำคัญคือความ เสี่ยง หรืออันตรายจากการไหม้ ลุกติดไฟ ยังลดลง เพราะเตาได้ความร้อนจริงๆ จากตัวภาชนะอีกที

พลังงาน ความร้อนเกิดขึ้น มีต้นกำเนิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไปสร้างสนามแม่เหล็ก ที่เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ขนาดกระแสไฟฟ้านี้จึงแปรผันตามความร้อน ที่เกิดที่ตัวภาชนะ ตามหลักการเปลี่ยนรูปของพลังงาน ฉะนั้นการควบคุมความร้อนจึงสามารถทำได้ โดยควบคุมขนาดกระแสไฟฟ้า ที่ผ่านไปที่ขดลวดเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดยเพิ่มหรือลดความต้านทานในวงจร อีกทั้งตรวจจับขนาดกระแสไฟฟ้า ที่ลดต่ำลงกรณียกภาชนะออก เพื่อปิดเตา โดยอัตโนมัติ

ข้อจำกัด

ต้อง ใช้สำหรับเครื่องครัวที่ใช้ได้กับเตาแม่เหล็ก ไฟฟ้าเท่านั้น หรือหากไม่ใช้ภาชนะที่ใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีเสียงเตือนที่เตาและหยุดการทำงานภายในหนึ่งนาที ภาชนะที่สามารถใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าได้คือ ภาชนะโลหะพื้นเรียบ เช่น หม้อแสตนเลส ชามซุป กาต้มน้ำพื้นเรียบ หม้อเหล็กเคลือบ และต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 12 ซ.ม. ภาชนะที่ใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ได้คือ อลูมิเนียม แก้ว เซรามิก พาสติก และภาชนะพื้นไม่เรียบ

ความประหยัดพลังงาน

แม้ว่า เตาแม่เหล็กไฟฟ้า มีราคาแพงกว่าเตาขดลวดความร้อนไฟฟ้าทั่วๆไป แต่พลังงานที่ใช้ในการทำความร้อนนั้น ใช้เพียงแค่ครึ่งเดียว โดยเฉพาะประสิทธิภาพในการนำพาความร้อนนั้นมีสูงถึง 84% (จากการทดลองของ US Dept of energy) เทียบประสิทธิภาพเพียง 40-50% ของเตาแก๊สความร้อน และเตาขดลวดความร้อน เนื่องความร้อนที่เสียไปที่อากาศรอบๆ โดยไม่ได้ใช้งาน

การสร้างความร้อน

ความร้อนเกิดขึ้นได้ จากสาเหตุ 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจาก magnetic hysteresis ความแม่เหล็กที่เปลี่ยนไปมาจากไฟฟ้ากระแสสลับนั้น ได้เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ที่ก้นภาชนะหุงต้ม ขนาดของความร้อนแปรผันโดยตรงกับพี้นที่ของ hysteresis loop พลังงานความร้อนส่วนนี้มีสัดส่วนประมาณ 7% หรือน้อยกว่าจากความ ร้อนที่เกิดทั้งหมด

ส่วนที่สอง หรือส่วนหลักของความร้อน เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น มีชื่อว่า eddy current ที่เกิดที่ก้นภาชนะ eddy currentg เกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนที่ผ่านไปมาระหว่างแผ่นโลหะที่เหนียวนำแม่เหล็ก ได้ กับสนามแม่เหล็ก จากกฎมือขวาในทางฟิสิกส์แรง, สนามแม่เหล็ก, กระแสไฟฟ้า)



ขนาดของ eddy current เมื่อลดต่ำลงเป็น 37% จากค่าเริ่มต้น ขนาดนี้เราเรียกว่า skin depth หาก skin depth มีค่าเป็น ¼ ของความหนาของก้นภาชนะ eddy current นี้จะถูกเปลี่ยนสภาพ เป็นความร้อนทั้งหมด (เกือบ 97%) ที่ฐานก้นภาชนะ ซึ่งความร้อนที่เกิดนี้ จะถูกถ่ายทอดไปยังอาหารเกือบหมด มีส่วนน้อยมากๆ ที่ถ่ายไปยังเตา


สาเหตุหลักๆ ที่ภาชนะอลูมิเนียมไม่สามารถใช้ได้ เพราะ skin depth ของอลูมิเนียมมีค่าสูงประมาณ 12 mm ซึ่งจะต้องมีภาชนะหนาประมาณ 48 mm เพื่อทำให้เกิดความร้อนได้

หลักการพื้นฐานของเตาแม่ เหล็กไฟฟ้า

การทำงานของเตาเหนี่ยวใช้การสร้างแหล่งจ่ายไฟความถี่สูง(โดยทั่วไปใช้ความ ถี่ในช่วง20-50kHz)แล้วป้อนให้ขดลวดเหนี่ยวนำซึ่งติดตั้งอยู่ใกล้กับ ตำแหน่ง ที่จะวางภาชนะ(ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ, ทดสอบได้โดยนำแม่เหล็กมาดูด) โดยขดลวดเหนี่ยวนำนี้จะทำหน้าที่เป็น เสมือนขดปฐมภูมิของหม้อแปลง สนามแม่เเหล็ก(เส้นแรงแม่เหล็ก)ความถี่สูง นี้จะตัดผ่านหรือพุ่งผ่านภาชนะ ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า(ทำหน้าที่เป็นเสมือนขดทุติยภูมิของหม้อแปลง)
ทำให้ เกิด แรงเคลื่อนเหนี่ยวนำและมีกระแสทีเกิดจากการเหนี่ยวนำ eddy current ขึ้น กระแสนี้จะไหลวนที่ก้นของภาชนะผ่านความต้านทานของ เนื้อโลหะที่เป็นภาชนะทำ ให้เกิดความร้อนขึ้นตามสมการ I^2 x R สาเหตุ ที่ต้องใช้ความถี่สูงก็เนื่องจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของเส้นแรงหรือ ฟลักซ์แม่เหล็กมีค่าสูงกว่าทำให้แรงเคลื่อนเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นที่ ภาชนะมีค่าสูงและกระแสเอ็ดดีก็สามารถไหลได้มากขึ้น และการที่ภาชนะที่ ใช้ต้องมีเหล็กเป็นองค์ประกอบก็เนื่องจากเหล็กมีค่าความซึม ซาบ(Permeability)แม่เหล็กสูงความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่ผ่าน เนื้อเหล็กจึงสูง(โดยที่ไม่ต้องใช้ กระแสเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กสูงมาก) ความ หนาแน่นที่สูงนี้ทำให้แรงเคลื่อนเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นที่ภาชนะมีค่าสูง ด้วยเช่นกัน

แรง มวล กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ..

แรง

นชีวิตประจำวัน ทุกคนออกแรงกระทำต่อวัตถุต่างๆกัน เช่น ดันประตู หิ้วกระเป๋า ยกหนังสือ เข็นรถ เป็นต้น การออกแรงดังกล่าวจะบอกขนาดของแรงว่ามากหรือน้อย มักใช้ความรู้สึกเข้าช่วย เช่น รู้สึกว่ายกหนังสือออกแรงน้อยกว่าเข็นรถ การบอกขนาดของแรงดังกล่าวจะได้ข้อมูลไม่เที่ยงตรง ส่วนการบอกขนาดของแรงในทางฟิสิกส์นั้นจะบอกจากผลของแรง ได้แก่ มวลวัตถุ และการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เพราะแรงสามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้(โดยกำหนดให้ขนาดของแรง 1 นิวตันคือ ขนาดแรงที่ทำให้มวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ไปตามแนวแรงด้วยความเร่ง 1 เมตร/วินาที2 )


จากรูป ถ้าวัตถุมีมวลขนาด 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปตามแนวแรงด้วยความเร่ง 1 เมตร/วินาที2
แรง F ที่ดึงวัตถุนั้นจะมีขนาดเท่ากับ 1 นิวตัน


แรง เป็นปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง หน่วยของแรงตามระบบ SI
คือนิวตัน(N) และ แรงสามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้



มวล


มวล คือปริมาณของวัตถุที่ต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยวัดเป็นกิโลกรัม(kg) (วัตถุที่อยู่นิ่ง จะต้านความพยายามที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ ในทำนองเดียวกัน วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่แล้ว ก็จะต้านความพยายามที่จะทำให้วัตถุนั้นหยุดนิ่ง วัตถุมวลมากจะต้านได้มาก วัตถุมวลน้อยจะต้านได้น้อย)

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน


กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันทั้งสามข้อ เป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญมากในวิชาฟิสิกส์ ซึ่งนอกจากจะใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแล้ว ยังสามารถอธิบายทั้งเรื่องสมดุล และการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆได้ทุกลักษณะ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการศึกษาเรื่องอื่น ๆ เช่น งาน พลังงาน โมเมนตัม ฯลฯ

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันสรุปได้ดังนี้

1. “กฎของความเฉื่อย” วัตถุจะรักษาสภาพนิ่งหรือสภาพการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในแนวเส้นตรง ถ้าไม่มีแรงจากภายนอกมากระทำต่อวัตถุนั้น




2. “F=ma” เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำกับวัตถุนั้น ทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศเดียวกันกับแรงลัพธ์ และความเร่งมีขนาดแปรผันตรงกับแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุ








3. “Action = Reaction” แรงกิริยาทุกแรงต้องมีแรงปฏิกิริยา ซึ่งมีขนาดเท่ากันและทิศทางตรงกันข้ามเสมอ เช่น รถชนสุนัข แรง action คือ แรงที่รถชนสุนัข ทำให้สุนัขกระเด็นไปในทิศเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันจะมีแรง reaction ซึ่งเป็นแรงที่สุนัขชนรถ ทำให้รถบุบ



แรงคู่กิริยา – ปฏิกิริยาที่กระทำระหว่างคนและโลก เมื่อคนยืนอยู่บนผิวโลก

ชนิดของไฟฟ้า


ชนิดของไฟฟ้า
ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นจากการเสียดสี โดยการนำสารต่างชนิดมาถูกันอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงจรโคจรของสารทั้งสองอาจชน กันได้อาจทำให้สารชิ้นหนึ่งสูญเสียอิเล็กตรอนไปให้กับสารอีกชนิดหนึ่ง แต่เนื่องจากว่าสารเหล่านี้ไม่ได้ต่อกับสารภายนอกอิเล็กตรอน ไม่มีโอกาสถ่ายเทได้จึงคงอยู่ที่สารนั้น เราจึงเรียกไฟฟ้าแบบนี้ว่า ไฟฟ้าสถิต
ประโยชน์ของไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าสถิตสามารถนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการพ่นสีโลหะต่าง ๆ การกรองฝุ่นและเขม่าออกจากควันไฟ การทำกระดาษทราย เป็นต้น
โทษของไฟฟ้าสถิต
ได้แก่ การเกิดฟ้าผ่า



2. ไฟฟ้ากระแส ไฟฟ้ากระแส เป็นไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในบ้านพักอาศัย และในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ไฟฟ้ากระแสสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดคือ

1.) ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า ไปในทิศทางเดียวกันเป็นวงจร เช่น กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery) ถ่านไฟฉายเซลล์สุริยะ ไดนาโมกระแสตรง เป็นต้น



2) ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) เป็นไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการเคลื่อนที่สลับกัน โดยกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
ในขดลวดตัวนำของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดคือ ไฟฟ้ากระแสสลับ เฟสเดียว สองเฟส และสามเฟส
ในปัจจุบันนิยมใช้เพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ กระแสไฟฟ้าสลับเฟสเดียวกับสามเฟส

2.1 ไฟฟ้ากระแสสลับเฟสเดียว (Single Phase)




ลักษณะการเกิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือ ขดลวดชุดเดียวหมุนตัดเส้นแรงแม่เหล็ก เกิดแรงดันกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไหลไปยังวงจรภายนอก โดยผ่านวงแหวน และแปลงถ่านดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าเมื่อออกแรงหมุนลวดตัวนำได้ 1 รอบ จะได้กระแสไฟฟ้าชุดเดียวเท่านั้น ถ้าต้องการให้ได้ปริมาณกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ก็ต้องใช้ลวดตัวนำหลายชุดไว้บนแกนที่หมุน ดังนั้นในการออกแบบขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับถ้าหากออกแบบ
ชุดขดลวดบนแกนให้เพิ่มขึ้นอีก 1 ชุด แล้วจะได้กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
2.2 ไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟส (Three Phase)
..................

.เป็นการพัฒนามาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับชนิดสองเฟส โดยการออกแบบจัดวางขดลวดบนแกนที่หมุนของเครื่องกำเนิดนั้น เป็น 3 ชุด ซึ่งแต่ละชุดนั้นวางห่างกัน 120 องศาทางไฟฟ้า




.ไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ในบ้านพักอาศัย ส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเฟสเดียว (SinglePhase)ระบบการส่งไฟฟ้าจะใช้
สายไฟฟ้า 2 สายคือ สายไฟฟ้า 1 เส้น และสายศูนย์ (นิวทรอล) หรือเราเรียกกันว่า สายดินอีก 1 สาย สำหรับบ้านพักอาศัยในเมืองบางแห่ง
อาจจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดพิเศษ จะต้องใช้ไฟฟ้าชนิดสามเฟส ซึ่งจะให้กำลังมากกว่า เช่น มอเตอร์เครื่องสูบน้ำในการบำบัดน้ำเสีย
ลิฟต์ของอาคารสูง ๆ เป็นต้น

แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสลับ



ไฟฟ้ากระแสสลับ
(Alternating Current , A.C. )


แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสลับ เช่น ไดนาโม จะมีดลวดหมุนตัดกับสนามแม่เหล็กทำให้กระแสไฟฟ้าไหลกลับไปกลับมาที่ขด ลวด โดยไหลออกทางปลายขดลวด เมื่อนำตัวต้านทานมาต่อกับแหล่งไฟฟ้ากระแสสลับ ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ปลายทั้งสองของตัวต้านทานกับกระแสไฟฟ้า จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันเมื่อกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ จึงมีลักษณะเป็น ซิมเปิลฮาร์โมนิก

เมื่อความต่างศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงจะทำให้กระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

สมการของกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าเทียบกับเวลาใดๆ จึงอยู่ในรูป ฟังก์ชันรูป sine หรือ cosine แล้วแต่กรณี จึงได้สมการ



เมื่อพิจารณา แรงเคลื่อนไฟฟ้า จะได้



i = กระแสไฟฟ้าสลับที่เวลา t ใดๆ
v = ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เวลา t ใดๆ
Im = กระแสไฟฟ้าสูงสุด
Vm= ความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุด
e = แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เวลา t ใดๆ
Em= แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุด

ω = อัตราเร็วเชิงมุม ( rad/s)
f = ความถี่ ( Hz )
T = คาบ ( s )
จะได้ว่า ω = 2πf = 2π/T

เราจึงเขียนสมการไฟฟ้าสลับได้เป็น

i = Imsinωt = Imsin2πft = Imsin 2πt/T
v = Vmsinωt = Vmsin2πft = Vmsin2πt/T
e = Emsinωt = Emsin2πft = Emsin2πt/T

การวัดค่ากระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสสลับ

ค่า i และ v มีค่าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงบอกค่าขณะใดขณะหนึ่ง ณ เวลาใด ๆและสมการซึ่งค่าเฉลี่ยจะมีค่าเป็น ศูนย์ดังนั้นจึงใช้การวิธีอ่านค่า i และ v ของไฟฟ้าสลับในลักษณะต่าง ๆ คือ

1. ค่ายังผล ( effective value )
2. ค่ามิเตอร์ ( meter value )
3. ค่ารากที่สองของกำลังสองเฉลี่ย ( root mean square , rms )



ไฟฟ้ากระแสสลับ 2 (ต่อ)

4.3 วงจร RLC แบบอนุกรม

เมื่อนำตัวต้านทาน ขดลวดเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุ มาต่ออนุกรม แล้วต่อปลาย
ทั้งสองที่เหลือของวงจรเข้ากับแหล่งจ่ายไฟสลับ ที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า v = Vm sin ωt
ดังรูป



เมื่อ VR VL และ VC คือความต่างศักย์ค่าสูงสุด (Voltage Amplitude) ที่ตกคร่อมอุปกรณ์แต่ละตัว




กราฟแสดงค่าความต่างศักย์ที่ตกคร่อม R L และ C

ผลรวมของความต่างศักย์ที่ตกคร่อมอุปกรณ์ทั้งสามชิ้นไม่สามารถรวมกันแบบ พีชคณิต
เพราะต่างมีเฟสไม่ตรงกัน จะต้องใช้แผนภาพแสดงเฟสช่วยในการรวม





แผนภาพแสดงเฟสของความต่างศักย์ที่ตกคร่อมอุปกรณ์แต่ละตัว ในที่นี้ VL > VC


4.4 การต่อ RLC แบบขนาน

อุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อต่อกันแบบขนานคร่อมกับแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ สามารถวิเคราะห์วงจรได้
เช่นเดียวกับการต่อแบบอนุกรม แต่จะใช้กฎเกี่ยวกับกระ
แสของเคอร์ชฮอฟช่วยในการวิเคราะห์



วงจร RLC ต่อแบบขนาน และแผนภาพสามเหลี่ยมของกระแสในวงจร

เพราะตัวต้านทาน ขดลวดและตัวเก็บประจุต่อขนานกันแลัวนำไปต่อกับแหล่งจ่ายไฟ
สลับ ดังนั้นความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คร่อมอุปกรณ์แต่ละชิ้นจึงมีค่าเท่ากัน แต่เฟสของกระแสไฟฟ้าที่
ผ่านตัวต้านทาน ขดลวดและตัวเก็บประจุ จะไม่เหมือนกัน การเขียนแผนภาพแสดงเฟสจะใช้
กระแสแสดงความต่างเฟส (ไม่เหมือนกับการต่อแบบอนุกรม ซึ่งใช้ ความต่างศักย์แสดงความต่าง
เฟสในแผนภาพ)


กระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน (R)
IR = V/R มีเฟสตรงกับ V
กระแสที่ไหลผ่านขดลวด (L)
IL = V/XL ตามหลังความต่างศักย์ 90 องศา
กระแสที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุ (C)
IC = V/Xc นำหน้าความต่างศักย์ 90 องศา



จากแผนภาพแสดงเฟส จะเห็นว่ากระแสรวมของวงจร คือ I (สมมติว่า IC > IL )










ไฟฟ้ากระแสสลับ

ไฟฟ้ากระแสสลับ
1.แรงเคลื่อน กระแสไฟฟ้าสลับ และค่ายังผล
เครื่องมือที่ให้กำเนิด ไฟฟ้ากระแสสลับอย่างง่าย ๆ จะประกอบด้วยขดลวดหมุนอยู่ใน
สนามแม่เหล็ก การทำงานเป็นไปตามกฎการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของฟาราเดย์ ปลายทั้งสองของ
ขดลวดต่อกับวงแหวนปลายละวง การใช้งานทำได้โดยต่อสายไฟจากวงแหวนนี้โดยมีแปรงแตะ
อยู่ระหว่างวงแหวนกับสายไฟ เรียกเครื่องมือนี้ว่าเครื่องกำเนิดกระแสสลับ (Alternating current
generator หรือ alternator)



เมื่อขดลวดหมุนตัดสนามแม่เหล็กด้วยความเร็วเชิงมุมสม่ำเสมอ = ω = 2πf
เรเดียน/วินาที เมื่อ f คือความถี่เป็นรอบต่อวินาที สมการแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เวลาใด ๆ
คือ v = Vm sin ωt .................... (1)

Vm คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุดในวงจร หรือเรียกว่า Voltage Amplitude วงจร
กระแสไฟฟ้าสลับที่ง่ายที่สุดคือวงจรที่ประกอบด้วยตัวต้านทาน 1 ตัว และแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
กระแสสลับซึ่งจะแทนด้วยสัญลักษณ์


รูปแสดงความต่างศักย์และกระแสไฟฟ้า บนตัวต้านทานเมื่อเวลา t ใด ๆ
และแผนภาพเฟเซอร์แสดงให้เห็น
ถึงกระแสมีเฟสตรงกับความต่างศักย์


ความต่างศักย์ไฟฟ้าและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานจะเปลี่ยนไปตาม
เวลา สามารถแสดงเป็นกราฟได้ดังรูป 4.3 ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่ตกคร่อม R จะมี
ลักษณะที่เรียกว่า “in phase” หรือมีเฟสตรงกัน เมื่อความต่างศักย์มีค่าสูงสุด กระแสไฟฟ้าก็จะมี
ค่าสูงสุด และเมื่อความต่างศักย์มีค่าต่ำสุด กระแสไฟฟ้าก็จะมีค่าต่ำสุดด้วย สมการทั่วไปของ
กระแสไฟฟ้าสลับที่ไหลผ่านตัวต้านทาน R คือ
i = R
m V sin 2πt
= Im sin 2πft .................... (2)
เมื่อ Im = Vm / R


แรงเคลื่อนไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของวงจรกระแสสลับมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตั้งแต่ 0 ถึง Vm หรือ Im ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าและกระแสที่วัดได้จะเป็นค่าที่ขณะใดขณะหนึ่งของ
เวลา เนื่องจากมีลักษณะเป็นเส้นโค้งรูป sine ค่าเฉลี่ยของกระแสไฟฟ้าใน 1 รอบจึงมีค่าเป็นศูนย์
เพราะขนาดของกระแสในทิศทางที่เป็นบวกและทิศทางที่เป็นลบมีขนาดเท่ากัน แต่ทิศทางของ
กระแสที่ไหลสลับไปกลับมาไม่มีผลต่อกำลังไฟฟ้าที่ตกคร่อมบนอุปกรณ์ไฟฟ้า

ค่ายังผลของกระแสไฟฟ้าสลับ หมายถึง ค่าของกระแสไฟฟ้าตรงค่าหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ เกิดพลังงาน (ความร้อน, แสง, เสียง) บนตัวต้านทานตัวหนึ่งได้เท่ากันในเวลาที่เท่ากัน

กระแสไฟฟ้าค่ายังผลบางครั้งเรียกว่าค่าเฉลี่ยกำลังสอง (root mean square current, Irms) เพราะค่าเฉลี่ยของกระแสไฟที่ได้มาจากการนำค่ากระแสไฟฟ้ายกกำลังสองแล้วถอดรากที่สอง

2.วงจรที่มีขดลวดเหนี่ยวนำหรือตัวเก็บประจุ
2.1 วงจรไฟสลับที่มีเฉพาะขดลวดเหนี่ยวนำ


ความต่างศักย์ที่ตกคร่อมขดลวดเหนี่ยวนำและแผนภาพเฟเซอร์


นวงจรที่มีขดลวดเพียงอย่างเดียว กระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดจะตามหลังความต่างศักย์ที่ตกคร่อมขดลวดอยู่ 90 องศาเสมอ



2.2 วงจรไฟสลับที่มีเฉพาะตัวเก็บประจุ



กราฟกระแสนำหน้าความต่างศักย์ที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุอยู่ 90 องศา




แหล่งกำเนิดไฟฟ้า

แหล่งกำเนิดไฟฟ้า

แหล่งกำเนิดไฟฟ้า มีหลายชนิด ดังนี้


1) แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของวัตถุ การนำวัตถุ 2 ชนิดมาเสียดสีกันจะเกิดไฟฟ้า เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต


ผู้ค้นพบไฟฟ้าสถิตครั้งแรก คือ นักปราชญ์กรีกโบราณ ท่านหนึ่งชื่อเทลิส(Philosopher Thales)

สมัยเซอร์วิลเลี่ยมกิลเบอร์ค (Sir William Gilbert)ได้นำเอาแท่งอำพันถูกับผ้าขนสัตว์ปรากฏว่าแท่งอำพันและผ้าขนสัตว์สามารถดูด ผงเล็ก ๆ ได้ปรากฏการณ์นี้คือการเกิดไฟฟ้าสถิตบนวัตถุทั้งสอง


2) แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานทางเคมี แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานทางเคมีเป็นไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (Direct Current) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ


2.1) เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell)

เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กระแสไฟฟ้าตรง ผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ เคานต์อาเลสซันโดรยูเซปเปอันโตนีโออานัสตาซีโอวอลตา นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี โดยใช้แผ่นสังกะสี และแผ่นทองแดงจุ่มลงในสารละลายของกรดกำมะถันอย่างเจือจาง มีแผ่นทองแดงเป็นขั้วบวกแผ่นสังกะสีเป็นขั้วลบ เรียกว่า เซลล์วอลเทอิก เมื่อต่อเซลล์กับวงจรภายนอก ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากแผ่นทองแดงไปยังแผ่นสังกะสี


ขณะที่เซลล์วอลเทอิกจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟแผ่นสังกะสี จะค่อย ๆ กร่อนไปทีละน้อยซึ่งจะเป็นผลทำให้กำลังในการจ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย และเมื่อใช้ไปจนกระทั่งแผ่นสังกะสีกร่อนมากก็ต้องเปลี่ยนสังกะสีใหม่ จึงจะทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ต่อไปเท่าเดิม ข้อเสีย ของเซลล์แบบนี้คือ ผู้ใช้จะต้องคอยเปลี่ยนแผ่นสังกะสีทุกครั้งที่เซลล์จ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงแต่อย่างไรก็ตามเซลล์วอลเทอิกนี้ ถือว่าเป็นต้นแบบของการประดิษฐ์เซลล์แห้ง (Dry Cell) หรือถ่านไฟฉายในปัจจุบัน ทั้งเซลล์เปียกและเซลล์แห้งนี้เรียกว่า เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell) ข้อดี ของเซลล์ปฐมภูมินี้ คือเมื่อสร้างเสร็จสามารถนำไปใช้ได้ทันที





2.2) เซลล์ทุติยภูมิ (Secondary Cell)
เป็นเซลล์ไฟฟ้าสร้างขึ้นแล้วต้องนำไปประจุไฟเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ และเมื่อใช้ไฟหมดแล้วก็สามารถนำไปประจุไฟใช้ได้อีก โดยไม่ต้องเปลี่ยนส่วนประกอบภายใน และเพื่อให้มีกระแสไฟฟ้ามากจะต้องใช้เซลล ์หลายแผ่นต่อกันแบบขนานแต่ถ้าต้องการให้แรงดันกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นก็ต้องใช้เซลล์หลาย ๆแผ่น.แบบอนุกรม เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สตอเรจเซลล์ หรือ สตอเรจแบตเตอรี่(Storage Battery)





3) แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า


กระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานแม่เหล็กโดยวิธีการใช้ลวดตัวนำไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการนำสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งสองวิธีนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำนั้น กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ



4) แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแสง


........
เกิดจากการที่แสงผ่านกระแสไฟฟ้า จากพลังงานสารกึ่งตัวนำ เพราะว่าเมื่อสารกึ่งตัวนำได้รับแสง อิเล็กตรอนภายในสารหลุดออกมา
และเคลื่อนที่ได้ แหล่งกำเนิดไฟฟ้านี้ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเรียกว่า โฟโตเซลล์(Photo Cell) ใช้ในเครื่องวัดแสงของกล้องถ่ายรูป การปิดเปิดประตู
ลิฟต์และระบบนิรภัย เป็นต้น


5) แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานความร้อน ...

.

.กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากพลังงานความร้อนโดยการนำโลหะ 2 ชนิดมายึดติดกันแล้วให้ความร้อนจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในแท่งโลหะทั้งสอง เช่น ใช้ทองคำขาวกับคอนสแตนตันยึดปลายข้างหนึ่งให้ติดกัน ...และปลายอีกด้านหนึ่งของโลหะทั้งสองต่อเข้ากับเครื่องวัดไฟฟ้า กัลวานอร์มิเตอร์ เมื่อใช้ความร้อนเผาปลายของโลหะที่ยึดติดกันนั้น พลังงานความร้อนจะทำให้เกิดพลังงาน ไฟฟ้าขึ้น เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องวัดไฟฟ้า


6) แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากแรงกด ........


กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากแรงกด สารที่ถูกแรงกด หรือดึง จะเกิดกระแสไฟฟ้าผลึกของควอตซ์ ทัวร์มาไลท์และเกลือโรเซลล์ เมื่อนำเอาผลึกดังกล่าวมาวางไว้ระหว่างโลหะทั้งสองแผ่นแล้วออกแรงกด สารนี้จะมีไฟฟ้าออกมาที่ปลายโลหะทั้งสอง พลังงานไฟฟ้า